วันเสาร์ที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

รายงานผลการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 การเจริญเติบโต และระบบอวัยวะภายในของมนุษย์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

ชื่อเรื่อง :  รายงานผลการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้ที่ 1             
             การเจริญเติบโต และระบบอวัยวะภายในของมนุษย์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ผู้รายงาน :  นายธรรมศักดิ์  ช่วยวัฒนะ
หน่วยงาน : โรงเรียนอนุบาลรัตนบุรี  อำเภอรัตนบุรี  จังหวัดสุรินทร์
               สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 2
ปีที่พิมพ์ :  2559

บทคัดย่อ


           ชุดกิจกรรมช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการสอนของครู เปิดโอกาสให้นักเรียนได้ศึกษาด้วยตนเองเต็มศักยภาพฝึกทักษะการคิด การปฏิบัติ การแก้ปัญหา การศึกษาครั้งนี้จึงมีความมุ่งหมายเพื่อ (1) เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 การเจริญเติบโตและระบบอวัยวะภายในของมนุษย์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 (2)เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนการใช้และหลังการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 การเจริญเติบโตและระบบอวัยวะภายในของมนุษย์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6(3)เพื่อหาค่าดัชนีประสิทธิผลของชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 การเจริญเติบโตและระบบอวัยวะภายในของมนุษย์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ต่อการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 การเจริญเติบโตและระบบอวัยวะภายในของมนุษย์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

 กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 29 คน ที่กำลังศึกษาใน    ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 โรงเรียนอนุบาลรัตนบุรี อำเภรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 2 ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้มี 4 ชนิด ดังนี้ (1) แผนการจัดการเรียนรู้สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 การเจริญเติบโตและระบบอวัยวะภายในร่างกาย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 10 แผน (2)ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 การเจริญเติบโตและระบบอวัยวะภายในของมนุษย์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 10 ชุด (3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 การเจริญเติบโตและระบบอวัยวะภายในของมนุษย์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 30 ข้อ ซึ่งมีค่าความยากระหว่าง 0.38 – 0.71 ค่าอำนาจจำแนก ระหว่าง 0.24 – 0.71 ค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบเท่ากับ 0.92 (4) แบบวัดความ       พึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 การเจริญเติบโตและระบบอวัยวะภายในของมนุษย์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 20 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติที่ใช้ทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ t-test (Dependent Samples) ผลการศึกษาพบว่า (1) ประสิทธิภาพชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 การเจริญเติบโตและระบบอวัยวะภายในของมนุษย์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพของกระบวนการ (E1) และประสิทธิภาพของผลลัพธ์ (E2) เท่ากับ 82.77/82.87 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ตั้งไว้คือ 80/80 (2) ค่าดัชนีประสิทธิผลของชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 การเจริญเติบโตและระบบอวัยวะภายในของมนุษย์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เท่ากับ 0.5648 ซึ่งหมายความว่าชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ช่วยทำให้นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีความรู้ เรื่อง      การเจริญเติบโตและระบบอวัยวะภายในของมนุษย์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 56.48 (3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 การเจริญเติบโตและระบบอวัยวะภายในร่างกาย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (4) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วย  ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 การเจริญเติบโตและระบบอวัยวะภายในร่างกาย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีความพึงพอใจโดยภาพรวมมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด(X= 4.68, S.D. = 0.47) เมื่อแยกเป็นภาพรวมรายด้านพบว่าทุกๆ ด้านมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุดโดยด้านที่ค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านสื่อการเรียนการสอน (X= 4.73, S.D. = 0.45) และค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ (X= 4.66, S.D. = 0.21) จากผลการศึกษาที่กล่าวมา พบชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 การเจริญเติบโตและระบบอวัยวะภายในของมนุษย์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สามารถพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนให้มีระดับสูงขึ้นได้

วันจันทร์ที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

ภาพความทรงจำนักเรียนโรงเรียนอนุบาลรัตนบุรี ชุด 5

ภาพความทรงจำนักเรียนโรงเรียนอนุบาลรัตนบุรี  ตั้งแต่ปี 2549-2559 อำเภอรัตนบุรี  จังหวัดสุรินทร์

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เรื่อง สถานที่แตกต่างกันส่งผลต่อระดับอุณหภูมิต่างกันหรือไม่
                                   เรื่อง อุณหภูมิของน้ำแข็งกับจุดเยือกแข็ง
                                   เรื่อง ปัจจัยที่ส่งผลต่อจุดเยือกแข็งของน้ำแข็ง





เกลือ NACl มีผลต่อจุดเยือกแข็งของน้ำ








จำลองการเกิดหมอก  ไอน้ำกระทบกับความเย็น  ควบแน่นเป็นหยดน้ำ  ลอยเหนือพื้นน้ำหรือพื้นดิน




ตรวจวัดอุณหภูมิแหล่งต่าง ๆ