วันพฤหัสบดีที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ลังกระดาษเปล่าสร้างแบบจำลองสุริยุปราคา

การสร้างแบบจำลองระบบสุริยะสิ่งที่ผลิตจะต้องตระหนักความสำคัญคือ ขนาดที่สัมพันธ์แบบสัดส่วนกับของจริง เมื่อโลกมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง            12,756 กิโลเมตร
                                                   ดวงจันทร์             3,476 กิโลเมตร
                                                   ดวงอาทิตย์    1,392,000 กิโลเมตร
ดวงจันทร์มีระยะห่างจากโลก คือ                          384,000 กิโลเมตร

โจทย์  ถ้าเราต้องการสร้างแบบจำลองภายในกล่องกระดาษ ดับเบิล เอ ที่มีขนาด ภายในกล่อง 22 เซนติเมตร * 30 เซนติเมตร * 26  เซนติเมตร
ภาพที่ 1 ขนาดกล่อง
จะกำหนดสัดส่วนจำลองภายในกล่องอย่างไร 
( cm ย่อมาจาก เซนติเมตร)
แนวคิด

    สิ่งแรกที่พิจารณาคือ  ขนาดของกล่องคงไม่รองรับดวงอาทิตย์แน่  เมื่อบรรจุดวงอาทิตย์ได้ ดวงจันทร์คงจะเล็กมากจนไม่สามารถสังเกตได้  ดังนั้นจึงต้อง ตัดดวงอาทิตออก  คงเหลือเพียง ดวงจันทร์กับ โลกเท่านั้น จะเป็นเรื่องที่ง่ายกว่า
     เมื่อเราใช้ลูกปิงปองขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง  4 เซนติเมตร ดังนั้นโลกมีขนาด = (12,756 * 4) / 3,476
                                                                                                                             = 14.68 cm
หรือประมาณ 5.78 นิ้ว  โฟมมีจำหน่ายตามท้องตลาดขนาด 6 นิ้ว 
 ระยะห่าง   384,000 km /  869  = 441.89 cm  คงจะบรรจุภายในกล่องไม่ได้  จึงพบข้อจำกัด... ไม่เกิน 26 cm
ซึ่ง แกนห่างกันได้ 24/2 = 12 cm

    ภาพที่ 2 แกนระนาบ
    ระนาบของดวงจันทร์กับโลกกำหนดให้อยู่ในระนาบเดียวกันเพื่อให้สังเกตปรากฏการณ์สุริยุปราคาและจันทรุปราคาได้ 

วัสดุอุปกณ์
  
          1.ลังเปล่า
          2.ไม้ตะเกียบ
          3.กระดาษแข็งหรือฟิวเจอร์บอร์ด
          4.โฟมทรงกลม ขนาด 6 นิ้ว
          5.ลูกปิงปอง ขนาด 2 นิ้ว
          6.เทปกาวหรือแล็กซีน
          7.คัตเตอร์

วิธีสร้าง 
          1.ตัดกระดาษแข็งเป็นรูปวงกลมเส้นผ่าศูนย์กลาง 8 นิ้ว 1 แผ่น
          2.นำตะเกียบ เสียบทะลุโฟมทรงกลม ณ จุดศูนย์กลาง และแผ่นกระดาษกลมในข้อ 1
          3.ต่อส่วนยื่น ขนาด 1*2 นิ้ว พร้อมติดเทปกาวและเจาะกึ่งกลาง
          4.นำลูกปิงปิงเจาะกลางด้วยปลายคัดเตอร์เพียงเล็กน้อยเพื่อเสียบตะเกียบได้ ปลายตะเกียบยาว 6 นิ้ว เพื่อการเลื่อนขึ้นลงของลูกปิงปองได้ง่าย
          5.เจาะกึ่งกลางลังกระดาษเป็นแนวแกนหมุนของลูกโลกโฟม ยึดด้วยเทปกาว
          6.ทดสอบการหมุนหากติดขัดด้านข้างก็ขยับให้ได้กึ่งกลางที่สมดุล
          7. เจาะช่องแสงได้ข้าง

          



ส่วนยื่่น ลูกปิงปองแทนดวงจันทร์



เงาที่เกิดบนโฟมสีขาว แทนปรากฏการณ์สุริยุปราคา




ภาพที่ 3 แบบจำลอง

คำถาม
    ๑.สิ่งที่นักเรียนสงสัยกับแบจำลองนี้มากที่สุด คือ ....................................................    (การเกิดเงา และแยกความแตกต่้างระหว่างเงามืดกับเงามัวไม่ได้)
   ๒.ตำแหน่งใดบ้างที่สามารถสร้างเงาบนดวงจันทร์ได้..................................
   ๓.ตำแหน่งใดบ้างที่สามารถสร้างเงาบนโลกได้..................................
  ๔.ส่วนสว่างบนโลก คือกลางวันหรือกลางคืน....................................................
  ๕.ส่วนสว่างบนดวงจันทร์ คนบนโลกสังเกตได้หรือไม่.....................  อย่างไร......................................
.................................................................................................................................................................


                                                  

วันศุกร์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

วัฏจักรชีวิตสัตว์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕

วัฏจักรชีวิตสัตว์ หรือใช้คำว่า วงจรชีวิตสัตว์ (Life cycle)
ความหมาย
    
วงจรชีวิตของสัตว์ หมายถึง ชีวิตการเจริญเติบโตของสัตว์ที่เจริญเติบโตต่อเนื่องกันมาอย่างเป็นระเบียบ การเจริญเติบโตของสัตว์บางชนิดจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากในการเจริญเติบโตเช่น กบ ตอนแรกมาจากแม่ครั้งแรกจะเป็นไข่ หลังจากนั้นจะเปลี่ยนจากไข่กลายเป็นลูกอ๊อด เมื่อโตขึ้นมาอีกหน่อยหางจะหดลงแล้วขึ้นมาหากินบนบกจนกลายเป็นกบ

Metamorphosis       Metamorphosis  หมายถึง การเจริญเติบโตที่มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างลักษณะเป็นขั้น ๆ ในระหว่างเจริญเติบโตได้แก่ สัตว์ครึ่งน้ำครึ่งบก และแมลงเกือบทุกชนิด  การเปลี่ยนแปลงรูปร่างมี 3 แบบ 

การเจริญเติบโตที่มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างครบ 4 ชั้น (Complete Metamorphosis)     เมตามอร์โฟซีสแบบสมบูรณ์ คือ แมลงที่มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างครบ 4 ขั้น คือ ไข่ (egg) è ตัวอ่อน (larva) è ดักแด้ (pupa) è ตัวเต็มวัย (adult) ได้แก่ ยุง ผีเสื้อ ผึ้ง มด ต่อ แตน ไหม แมลงวัน ด้วง
การเจริญเติบโตที่มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างไม่ครบ 4 ชั้น (Incomplete Metamorphosis)     เมตามอร์โฟซีสแบบไม่สมบูรณ์ คือ แมลงที่มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างไม่ครบขั้น มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างเพียง 3 ขั้น คือ ไข่ (egg) èตัวอ่อนในน้ำ (naiad) è ตัวเต็มวัย (adult) ได้แก่ แมลงปอ ชีปะขาว จิงโจ้น้ำ
การเจริญเติบโตที่มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างแบบค่อยเป็นค่อยไป (Gradual Metamorphosis)     เมตามอร์โฟซีสแบบค่อยเป็นค่อยไป คือ แมลงที่มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างที่ละน้อยไม่ครบขั้น มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างเพียง 3 ขั้น คือ ไข่ (egg) è ตัวอ่อน (mymph) è ตัวเต็มวัย (adult)  ได้แก่ แมลงสาบ ตั๊กแตน จิ้งหรีด จักจั่น มวนต่าง ๆ เหา ปลวก ไร เรือด เพลี้ย

การเติบโตที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างลักษณะ (Ametamorphosis)     การเจริญเติบโตที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างลักษณะเป็นขั้น ๆ ในระหว่างเจริญเติบโต ตัวอ่อนจะมีลักษณะรูปร่างเหมือนตัวเต็มวัยทุกประการเพียงแต่มีขนาดเล็กกว่า ได้แก่ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์เลื้อนคลาน สัตว์ปีก แมลงบางชนิด เช่น ตัวสองง่าม ตัวสามง่าม แมลงหางดีด
แบบทดสอบ จำนวน 5 ข้อ

วันพฤหัสบดีที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

เก็บตกคำถามในระบบหมุนเวียนเลือดสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาที่ใฝ่เรียนรู้

ขอบข่ายสาระการเรียนรู้แกนกลางรายวิชา วิทยาศาสตร์ ป.๖
มฐ. ว ๑.๑ ป๖/๒  อธิบายการทำงานที่สัมพันธ์กันของระบบย่อยอาหาร ระบบหายใจ และระบบหมุนเวียนเลือดมนุษย์

สาระสำคัญ
   ระบบบย่อยอาหาร ทำหน้าที่ย่อยอาหารให้เป็นสารอาหารขนาดเล็กแล้วจะถูกดูดซึมเข้าสู่ระบบหมุนเวียนเลือด แก็สออกซิเจนที่ได้จากระบบหายใจจะทำให้สารอาหารเกิดการเปลี่ยนแปลงจนกลายเป็นพลังงานที่ร่างกายนำไปใช้ได้
ตอนที่ ๑
คำถามที่เกี่ยวข้อง(ขอบข่ายระบบภายในร่างกายมนุษย์)
   ๑.การย่อยอาหารเกิดขึ้นที่ส่วนใดได้บ้าง.......................................................................
   ๒.ที่ปากสามารถย่อยอาหารด้วยกระบวนการทางเคมีของสารประเภทใด........................
   ๓.หลอดอาหารช่วยย่อยอาหารได้หรือไม่....................
   ๔.กระเพาะอาหารย่อยอาหารประเภทใด........................................................................
   ๕.กระเพาะอาหารดูดซึมสารอาหารได้หรือไม่............................................................................
   ๖.น้ำย่อยที่ใช้ในกระเพาะอาหารได้แก่อะไรบ้าง.................................................................. และถูกสร้างมาจากอวัยวะใด................................................................................................................
  ๗.ลำไส้เล็กมีหน้าที่อะไร..............................................................................................................
  ๘.น้ำย่อยที่ใช้ในลำไส้เล็กใช้ย่อยสารอาหารประเภทใดได้บ้าง..............................................................
..................................................................................................................................................................
  ๙.สารอาหารถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดที่ส่วนใดของลำไส้เล็ก............................................................
 ๑๐.ระบบหมุนเวียนเลือดทำหน้าที่อะไร....................................................................................................
 ๑๑.ทำไมคนเราต้องมีเลือด ทั้ง ๆ ที่เราก็ได้กินอาหารและย่อยอาหารไปแล้ว..........................................
..................................................................................................................................................................
 ๑๒.เลือดมีองค์ประกอบอะไรบ้าง.............................................................................................................
 ๑๓.องค์ประกอบใดของเลือดที่ทำหน้าที่ลำเลียงแก๊สออกซิเจน .......... ..................................................
 ๑๔.องค์ประกอบใดของเลือดที่ทำหน้าที่ทำหน้าที่กำจัดเชื้อโรค..............................................................
 ๑๕.องค์ประกอบใดของเลือดที่ทำหน้าที่ในการสมานแผลของหลอดเลือด.............................................
 ๑๖.สารเคมีที่เป็นองค์ประกอบของเม็ดเลือดแดง คือ อะไร....................................................................
๑๗.รูปร่างของเม็ดเลือดแดงคล้ายกับสิ่งใด...............................................................................................
๑๘.หัวใจทำงานสัมพันธ์กับระบบหมุนเวียนเลือดอย่างไร.........................................................................
..................................................................................................................................................................
๑๙.หัวใจมี..............ห้อง แต่ละห้องทำงานเหมือนหรือแตกต่างกัน................... อย่างไร...........................
..................................................................................................................................................................
๒๐.อักษรย่อที่พบ RBCs ย่อมาจากอะไร..................................................................................................
                              WBCs ย่อมาจากอะไร.................................................................................................

ตัวอย่างภาพ

ภาพที่ ๑ เซลล์เม็ดเลือดแดง (Red Blood Cells)

ภาพที่ ๒ ส่วนประกอบของเลือดหลังจากการปั่นแยก


ภาพ ๓ เซลล์เม็ดเลือดขาว (White Blood Cells)

 ภาพ ๔ ความแตกต่างระหว่างเม็ดเลือดแดงที่มีออกซิเจนและไม่มีออกซิเจน ซึงมีสารเคมีที่เป็นองค์ประกอบที่สำคัญคือ  ฮีโมโกลบิน ( hemoglobin [Am.]) (แบบอเมริกา) ส่วนอังกฤษ ว่า เฮโมโกลบินhaemoglobin [Br.]) ย่อเป็น Hb หรือ Hgb 

ภาพ ๕ เม็ดเลือดแดงเมื่ออยู่รวมกันกับส่วนประกอบอื่น ๆ 


ภาพ ๖ ขนาดของเชลล์เม็ดเลือดแดง ประมาณ 6-8 ไมครอน


ภาพ ๗ เซลล์เม็ดเลือดแดงเทียบกับเซลล์เม็ดเลือดขาว และเกล็ดเลือด


ภาพ ๘ รูปร่างของเซลล์เม็ดเลือดแดง เซลล์เม็ดเลือดขาว และเกล็ดเลือดจากกล้องจุลลทรรศน์


ภาพ ๙ รูปร่างของเซลล์เม็ดเลือดแดง เซลล์เม็ดเลือดขาว และเกร็ดเลือดจากกล้องจุลลทรรศน์
สีม่วงที่พบน่าจะเป็นเซลล์ใด......................................................


ภาพ ๑๐เซลล์เม็ดเลือดแดง ล้อมเซลล์เม็ดเลือดขาว 


ภาพ ๑๑ แผนภาพทิศทางการไหลเวียนของเลือด
ส่วนสีฟ้ากับส่วนสีแดงของหลอดเลือด  แสดงไว้เพื่อให้เข้าใจความแตกต่างใน
เรื่องใด.........................................................................................




ภาพ ๑๒ ให้ตอบคำถามต่อไปนี้

หมายเลข 1 คือ.............................................................................................
หมายเลข 2 คือ.............................................................................................
หมายเลข 3 คือ.............................................................................................
หมายเลข 4 คือ.............................................................................................
หมายเลข A คือ.............................................................................................
หมายเลข B คือ.............................................................................................
หมายเลข C คือ.............................................................................................
หมายเลข D คือ.............................................................................................
ตอบแบบทับศัพท์ได้

คำถามที่นักเรียนช่างสงสัย
   ๑.ครูครับหลอดเลือดที่มีทิศทางสัมพันธ์กับหัวใจมีกี่..................ทิศ ครับ ( ๑ ทิศ/ ๒ ทิศ)
   ๒.ทิศทางไหลเวียนของเลือดที่เข้าสู่หัวใจจะเขียนแทนสัญญลักษณ์ใด......................(ลูกสรชี้เข้า/ลูกสรชี้ออก)
   ๓.หลอดเลือดจากหัวใจไปยังปอด มีชื่อว่าอะไรบ้าง...........................................................................(หลอดเลือดแดงพัลโมนารี (pulmonary arteries)/หลอดเลือดดำพัลโมนารี (pulmonary veins) 
  ๔.จากข้อ ๓ ทำไมหลอดเลือดแดงพัลโมนารี (pulmonary arteries) ทั้งที่ลงท้ายด้วย " arteries " แต่ทำไมต้องเขียนแทนด้วยสีน้ำเงินหรือดำ......................................................................
ในทางกลับกัน เมื่อ หลอดเลือดดำพัลโมนารี (pulmonary veins) ทั้งที่ลงท้ายด้วยคำว่า "veins" แล้วทำไมต้องเขียนแทนด้วยสีแดง .......................................................................(เนื่องจาก ทิศทางการไหลเวียนเข้าออกหัวใจ / ความเข้มข้นของปริมาณออกซิเจน เป็นเกณฑ์)

การเรียนรู้อย่างมีความหมาย ที่สอดคล้องกับนักการศึกษา ออซูเบล (Ausubel , David 1963)    เป็นนักจิตวิทยาแนวปัญญานิยม  ออซูเบลกล่าวไว้ว่า "การเรียนรู้จะมีความหมายแก่ผู้เรียน  หากการเรียนรู้นั้นสามารถเชื่อมโยงกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่รู้มาก่อน"  หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้  คือ  มีการนำเสนอความคิดรวบยอดหรือกรอบมโนทัศน์  หรือกรอบแนวคิดในเรื่องใดเรื่องหนึ่งแก่ผู้เรียนก่อนการสอนเนื้อหาสาระ นั้นๆ  จะช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนเนื้อหาสาระนั้นอย่างมีความหมาย  
(A Theory of Meaningful Verbal Learning)
   ภาพใดก็ตามที่พยายามอธิบายหรือสื่อให้ผู้เรียนนั้นจะต้องสามารถเชื่อมโยงอย่างเป็นเหตุเป็นผล เพราะความสงสัยจากการรับรู้ด้วยการสังเกตนั้นของเด็กนั้น ถ้าเกิดปัญญหา หรือ conflict  ก่อน ก็จะทำให้เกิดความท้าทายที่จะค้นหาคำตอบเพื่อคลายปมดังกล่าวได้
ทีมา : http://en.wikipedia.org/wiki/David_Ausubel

วันเสาร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ติดตามการเปลี่ยนแปลงของต้นถั่วเขียวที่เตรียมไว้ ใน เริ่มวันที่ 18- 22 มิถุนายน 2556


วันที่ 18 มิถุนายน 2556 ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์

          นักเรียนชั้นประถมศึกษปีที่ 4 โรงเรียนอนุบาลรัตนบุรี ได้ทำการเพาะเมล็ดถั่วเขียวเพื่อใช้ในกิจกรรมการทดลอง ซึ่งจะทดสองเพื่อตรวจสอบสมมุติฐาน
   1.น้ำมีผลต่อการเจริญเติบโตของพืช    (ตัวแปรต้น คือ น้ำ   ตัวแปต้นคือ การเจริญเติบโตของพืช)
   2.แสงแดดมีผลต่อการเจริญเติบโตของพืช (ตัวแปรต้น คือ แสงแดด   ตัวแปต้นคือ การเจริญเติบโตของพืช)

ดังนั้น ๆ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมดังกล่าว  เด็ก ๆ จึงได้ เพาะเมล็ดถั่วเขียว โดยใช้แก้วน้ำพลาสติก ดิน และ เมล็ดถั่วเขียว จำนวน 20 เมล็ด แบ่งเป็น แก้วละ 10 เมล็ด ฝากไว้ ณ ห้องวิทยาศาสตร์
   นักเรียนเพิ่มน้ำอีกจำนวน ๓๐ หยดต่อกระถาง
วันที่ 18 มิถุนายน 2556 ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์
   นักเรียนเพิ่มน้ำอีกจำนวน ๓๐ หยดต่อกระถาง
วันที่ 20 มิถุนายน 2556 ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์
   นักเรียนเพิ่มน้ำอีกจำนวน ๓๐ หยดต่อกระถาง
วันที่ 22 มิถุนายน 2556 ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์
   นักเรียนเพิ่มน้ำอีกจำนวน ๓๐ หยดต่อกระถาง








คำถาม
   ๑.เมื่อสังเกตตั้งแต่วันที่เริ่มเพาะเมล็ดถั่วพบว่ามีการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง
............................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
 ๒.เครื่องมืออย่างง่ายที่สามารถตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงได้แก่อะไรบ้าง......................................................

แหล่งข้อมูลเดิม
  http://anubarnsci.blogspot.com/2013/06/18-2556.html

ติดตามการเปลี่ยนแปลงของต้นถั่วเขียวที่เตรียมไว้ ในวันที่ 18 มิถุนายน 2556


วันที่ 18 มิถุนายน 2556 ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์

          นักเรียนชั้นประถมศึกษปีที่ 4 โรงเรียนอนุบาลรัตนบุรี ได้ทำการเพาะเมล็ดถั่วเขียวเพื่อใช้ในกิจกรรมการทดลอง ซึ่งจะทดสองเพื่อตรวจสอบสมมุติฐาน
   1.น้ำมีผลต่อการเจริญเติบโตของพืช    (ตัวแปรต้น คือ น้ำ   ตัวแปต้นคือ การเจริญเติบโตของพืช)
   2.แสงแดดมีผลต่อการเจริญเติบโตของพืช (ตัวแปรต้น คือ แสงแดด   ตัวแปต้นคือ การเจริญเติบโตของพืช)

ดังนั้น ๆ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมดังกล่าว  เด็ก ๆ จึงได้ เพาะเมล็ดถั่วเขียว โดยใช้แก้วน้ำพลาสติก ดิน และ เมล็ดถั่วเขียว จำนวน 20 เมล็ด แบ่งเป็น แก้วละ 10 เมล็ด ฝากไว้ ณ ห้องวิทยาศาสตร์
   นักเรียนเพิ่มน้ำอีกจำนวน ๓๐ หยดต่อกระถาง
วันที่ 18 มิถุนายน 2556 ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์
   นักเรียนเพิ่มน้ำอีกจำนวน ๓๐ หยดต่อกระถาง
วันที่ 20 มิถุนายน 2556 ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์
   นักเรียนเพิ่มน้ำอีกจำนวน ๓๐ หยดต่อกระถาง








คำถาม
๑.ถั่วในภาพทำการเพาะมาแล้วกี่วัน.................................(๑วัน/๒วัน/๓วัน)
๒.ส่วนใดของถั่วที่เพาะน่าจะงอกออกมาส่วนแรก........................(ราก/ใบ)
๓.ส่วนของถั่วที่สูงพ้นเหนือดินคือโครงสร้างใด...................................(ราก/ลำต้น/ใบเลี้ยง/ใบ)
๔.ใบเลี้ยงของถั่วมีกี่ใบ...........................(๑ใบ/๒ใบ)
๕.ใบแท้ของถั่วมีลักษณะต่างจากใบเลี้ยงหรือไม่...............(ต่าง/ไม่ต่าง)
๖.ถั่วที่เพาะน่าจะเป็นประเภทพืชใบเลี้ยง..........................(เดี่ยว/คู่)
๗.ช่วงที่ใบเลี้ยงยังคงอยู่ ถั่วต้องการน้ำและอาหารหรือไม่.......................(ต้องการ/ไม่ต้องการ)
๘.อาหารของถั่วน่าจะเป็นอะไร......................(โปรตีน/ไขมัน/ธาตุอาหาร)
๙.ถ้าถั่วต้องการน้ำและอาหารจริงสังเกตได้จากสิ่งใด..............................................(คำถามชวนทดลอง)
๑๐.ถั่วที่เพาะ ๑๐ เมล็ดงอกทั้งหมดหรือไม่........................... คิดเป็นร้อยละเท่าไหร่...........................

ภาพกิจกรรมที่ผ่านมา
http://anubarnsci.blogspot.com/2013/06/blog-post_7793.html

วันจันทร์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2556

เตรียมต้นถั่วเขียวสำหรับการทำปฏิบัติการวิทยาศาสตร์

วันที่ 18 มิถุนายน 2556 ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์

          นักเรียนชั้นประถมศึกษปีที่ 4 โรงเรียนอนุบาลรัตนบุรี ได้ทำการเพาะเมล็ดถั่วเขียวเพื่อใช้ในกิจกรรมการทดลอง ซึ่งจะทดสองเพื่อตรวจสอบสมมุติฐาน
   1.น้ำมีผลต่อการเจริญเติบโตของพืช    (ตัวแปรต้น คือ น้ำ   ตัวแปต้นคือ การเจริญเติบโตของพืช)
   2.แสงแดดมีผลต่อการเจริญเติบโตของพืช (ตัวแปรต้น คือ แสงแดด   ตัวแปต้นคือ การเจริญเติบโตของพืช)

ดังนั้น ๆ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมดังกล่าว  เด็ก ๆ จึงได้ เพาะเมล็ดถั่วเขียว โดยใช้แก้วน้ำพลาสติก ดิน และ เมล็ดถั่วเขียว จำนวน 20 เมล็ด แบ่งเป็น แก้วละ 10 เมล็ด ฝากไว้ ณ ห้องวิทยาศาสตร์