วันศุกร์ที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2560

ภาพกิจกรรมสรุปการสำรวจการกำเนิดดิน ป.๔

สาระที่ ๖    กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก
มาตรฐาน ว ๖. ๑     เข้าใจกระบวนการต่าง ๆ   ที่เกิดขึ้นบนผิวโลกและภายในโลก ความสัมพันธ์ของกระบวนการต่าง ๆ ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ภูมิประเทศ และสัณฐานของโลก มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์

ตัวชี้วัด
ผู้เรียนรู้อะไร
ผู้เรียนทำอะไรได้
สำรวจและอธิบายการเกิดดิน
        ดินเกิดจากหินที่ผุพังผสมกับซากพืชและซากสัตว์
        ตั้งคำถาม สังเกต วางแผน สำรวจ รวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล อภิปราย สรุปผลการอภิปราย และอธิบายและนำเสนอขั้นตอนการเกิดดิน
 ๒ระบุชนิดและสมบัติของดินที่ใช้ปลูกพืชในท้องถิ่น
       ดินมีส่วนประกอบของ เศษหิน อินทรีย์วัตถุ น้ำและอากาศ ในสัดส่วนที่แตกต่างกัน ทำให้เกิดดินหลายชนิด   พืชแต่ละชนิดจะเจริญเติบโตได้ดีในดินที่แตกต่างกัน ดังนั้นการปลูกพืชควรเลือกใช้ดินให้เหมาะสม
       ตั้งคำถาม วางแผนสำรวจ สังเกต ดิน และพืชที่เจริญเติบโตในดินแต่ละบริเวณในท้องถิ่น รวบรวมข้อมูล วิเคราะห์แสดงความคิดเห็น เขียนแผนภาพ นำเสนอ ชนิดและสมบัติของดินที่ใช้ปลูกพืชในท้องถิ่น


นักเรียนได้เก็บตัวอย่างดินและซากใบไม้แห้งแล้วนำมาสรุปลงในแผนภาพ






ตัวอย่างหินและแร่ที่นักเรียนสำรวจและเก็บตัวอย่างมาทากาวแปะติด

การตรวจสอบแป้ง

สาระที่ ๘    ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
มาตรฐาน ว ๘. ๑    ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์ในการสืบเสาะหาความรู้ การแก้ปัญหา รู้ว่าปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่มีรูปแบบที่แน่นอน สามารถอธิบายและตรวจสอบได้ ภายใต้ข้อมูลและเครื่องมือที่มีอยู่ในช่วงเวลานั้นๆ เข้าใจว่า วิทยาศาสตร์  เทคโนโลยี สังคม และสิ่งแวดล้อม  มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน
ตัวชี้วัด
ผู้เรียนรู้อะไร/ทำอะไรได้
๑.  ตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่จะศึกษา ตามที่กำหนดให้และตามความสนใจ
. วางแผนการสังเกต เสนอวิธีสำรวจตรวจสอบ ศึกษาค้นคว้า และคาดการณ์สิ่งที่จะพบจากการสำรวจ ตรวจสอบ
เลือกอุปกรณ์ ที่ถูกต้องเหมาะสมในการสำรวจตรวจสอบ
บันทึกข้อมูลในเชิงปริมาณ นำเสนอผล สรุปผล
สร้างคำถามใหม่เพื่อการสำรวจตรวจสอบต่อไป
แสดงความคิดเห็นและสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้
บันทึกและ  อธิบายผลการ สำรวจตรวจสอบอย่างตรงไปตรงมา
นำเสนอ จัดแสดงผลงาน หรือเขียนอธิบายกระบวนการและผลของงานให้ ผู้อื่นเข้าใจ



จะนำไปแทรกในสาระที่ ๑       ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิด









วันพฤหัสบดีที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2560

การศึกษาโครงสร้างท่อลำเลียงน้ำและธาตุอาหารของพืช

ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔
สาระที่  ๑   สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต

มาตรฐาน ว  ๑. ๑   เข้าใจหน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต ความสัมพันธ์ของโครงสร้าง และหน้าที่ของระบบต่างๆ ของสิ่งมีชีวิตที่ทำงานสัมพันธ์กัน มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้  สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ในการดำรงชีวิตของตนเองและดูแลสิ่งมีชีวิต
ทดลองและอธิบายหน้าที่ของท่อลำเลียงและปากใบของพืช 

ภายในลำต้นของพืชมีท่อลำเลียงเพื่อลำเลียงน้ำและอาหาร และในใบมีปากใบทำหน้าที่คายน้ำ



















ภาพการใช้สื่อความรู้ระบบต่างๆ ของร่างกาย

ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖
สาระที่  ๑   สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต

มาตรฐาน ว  ๑. ๑   เข้าใจหน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต ความสัมพันธ์ของโครงสร้าง และหน้าที่ของระบบต่างๆ ของสิ่งมีชีวิตที่ทำงานสัมพันธ์กัน มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้   สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ในการดำรงชีวิตของตนเองและดูแลสิ่งมีชีวิต
เทคนิคการเติมเต็มองค์ความรู้ในขั้นการนำไปใช้บังเกิดขึ้นได้ง่ายเมื่อนักเรียนกำลังทดสอบ  เมื่อไม่มั่นใจออกมาเติมเต็มความรู้นั้นๆ 


รูปแบบการสอนแบบสาธิตและการทดลอง

สาระที่ ๗   ดาราศาสตร์และอวกาศ
มาตรฐาน ว ๗.๒    เข้าใจความสำคัญของเทคโนโลยีอวกาศที่นำมาใช้ในการสำรวจอวกาศและทรัพยากรธรรมชาติ ด้านการเกษตรและการสื่อสาร  มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์อย่างมีคุณธรรมต่อชีวิตและสิ่งแวดล้อม
ความเข้าใจในการใช้กล้องโทรทรรศน์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6






วันศุกร์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2559

แนะนำโปรแกรมแบบจำลองวงจรไฟฟ้า

วันนีผมแนะนำโปรแกรมสำหรับการศึกษาวงจรไฟฟ้าอย่างง่าย สำหรับเด็กก็สามารเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง
โปรแกรม Circuit Construction Kid(DC Only)
เริ่มต้นที่ โหลดโปแกรมได้ที่ คลิก
 https://phet.colorado.edu/sims/circuit-construction-kit/circuit-construction-kit-dc_en.jar

หรือ
https://phet.colorado.edu/en/simulation/legacy/circuit-construction-kit-dc

สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ จำเป็นต้องติดตั้ง Java ด้วย โหลดเวอร์ชั่นใหม่ได้ที่ Java.com


ดาวน์โหลดเสร็จ  ก็ดับเบิลคลิกที่ไฟล์  โปรแกรมก็จะรันอัตโนมัติ
ใช้เมาส์คลิก และแดรกส์อุปกรณ์ไฟฟ้ามาวางในพื้นที่ทำการสีฟ้าได้ตามแบบวงจร

เมื่อ ออกแบบได้แล้วก็ กดปุ่ม Play
ยังมีอีกโปรแกรมอีกมาก
ศึกษาได้ที่
https://phet.colorado.edu/en/simulations/category/new

วันเสาร์ที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

รายงานผลการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 การเจริญเติบโต และระบบอวัยวะภายในของมนุษย์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

ชื่อเรื่อง :  รายงานผลการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้ที่ 1             
             การเจริญเติบโต และระบบอวัยวะภายในของมนุษย์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ผู้รายงาน :  นายธรรมศักดิ์  ช่วยวัฒนะ
หน่วยงาน : โรงเรียนอนุบาลรัตนบุรี  อำเภอรัตนบุรี  จังหวัดสุรินทร์
               สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 2
ปีที่พิมพ์ :  2559

บทคัดย่อ


           ชุดกิจกรรมช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการสอนของครู เปิดโอกาสให้นักเรียนได้ศึกษาด้วยตนเองเต็มศักยภาพฝึกทักษะการคิด การปฏิบัติ การแก้ปัญหา การศึกษาครั้งนี้จึงมีความมุ่งหมายเพื่อ (1) เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 การเจริญเติบโตและระบบอวัยวะภายในของมนุษย์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 (2)เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนการใช้และหลังการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 การเจริญเติบโตและระบบอวัยวะภายในของมนุษย์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6(3)เพื่อหาค่าดัชนีประสิทธิผลของชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 การเจริญเติบโตและระบบอวัยวะภายในของมนุษย์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ต่อการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 การเจริญเติบโตและระบบอวัยวะภายในของมนุษย์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

 กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 29 คน ที่กำลังศึกษาใน    ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 โรงเรียนอนุบาลรัตนบุรี อำเภรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 2 ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้มี 4 ชนิด ดังนี้ (1) แผนการจัดการเรียนรู้สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 การเจริญเติบโตและระบบอวัยวะภายในร่างกาย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 10 แผน (2)ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 การเจริญเติบโตและระบบอวัยวะภายในของมนุษย์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 10 ชุด (3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 การเจริญเติบโตและระบบอวัยวะภายในของมนุษย์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 30 ข้อ ซึ่งมีค่าความยากระหว่าง 0.38 – 0.71 ค่าอำนาจจำแนก ระหว่าง 0.24 – 0.71 ค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบเท่ากับ 0.92 (4) แบบวัดความ       พึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 การเจริญเติบโตและระบบอวัยวะภายในของมนุษย์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 20 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติที่ใช้ทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ t-test (Dependent Samples) ผลการศึกษาพบว่า (1) ประสิทธิภาพชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 การเจริญเติบโตและระบบอวัยวะภายในของมนุษย์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพของกระบวนการ (E1) และประสิทธิภาพของผลลัพธ์ (E2) เท่ากับ 82.77/82.87 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ตั้งไว้คือ 80/80 (2) ค่าดัชนีประสิทธิผลของชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 การเจริญเติบโตและระบบอวัยวะภายในของมนุษย์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เท่ากับ 0.5648 ซึ่งหมายความว่าชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ช่วยทำให้นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีความรู้ เรื่อง      การเจริญเติบโตและระบบอวัยวะภายในของมนุษย์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 56.48 (3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 การเจริญเติบโตและระบบอวัยวะภายในร่างกาย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (4) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วย  ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 การเจริญเติบโตและระบบอวัยวะภายในร่างกาย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีความพึงพอใจโดยภาพรวมมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด(X= 4.68, S.D. = 0.47) เมื่อแยกเป็นภาพรวมรายด้านพบว่าทุกๆ ด้านมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุดโดยด้านที่ค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านสื่อการเรียนการสอน (X= 4.73, S.D. = 0.45) และค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ (X= 4.66, S.D. = 0.21) จากผลการศึกษาที่กล่าวมา พบชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 การเจริญเติบโตและระบบอวัยวะภายในของมนุษย์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สามารถพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนให้มีระดับสูงขึ้นได้