วันอังคารที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2555

การอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาวิชาชีพครูวิทยาศาสตร์ระดับประถมศึกษา

การอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาวิชาชีพครูเพื่อส่งเสริมกิจกรรมการเรียนรู้ที่สะท้อนธรรมชาติวิทยาศาสตร์และเทคโนโลย (Erementary Science Teacher Propessional Development to Enchance the Refection of Nature of Science and Technology Learning Activity)


จัดโดยสถาบันวิทยาศาสตร์ สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน รุ่นที่ ๒ ระหว่างวันที่  ๒๙ กันยายน - ๒ ตุลาคม ๒๕๕๕ ณ โรงแรมเอเชีย  แอร์พอร์ต รังสิต จังหวัดปทุมธานี

มีวัตถุประสงค์หลัก
  ๑.อธิบายความหมายของวิทยาศาสตร์และธรรมชาติของวิทยาศาสตร์(Nature of Science : NOS)
  ๒.อธิบายลักษณะ (Aspect)ของธรรมชาติวิทยาศาสตร์
  ๓.วิเคราะห์และปรับปรุงแผนการจัดการเรียนรู้ที่บงชี้และสะท้อนธรรมชาติของวิทยาศาสตร์
  ๔.ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่สะท้อนธรรมชาติของวิทยาศาสตร์
  ๕.สามารถจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่สะท้อนธรรมชาติของวิทยาศาสตร์
  ๖.ตะหนักถึงความสำคัญของการจัดการเรียนรู็ที่สะท้อนธรรมชาติของวิทยาศาสตร์
   ๗.สามารถขยายผลเพื่อพัฒนาครูเพื่อให้สามารถสะท้อนธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ของวิทยาศาสตร์ในการจัดการเรียนรู้

กิจกรรมเป็นแบบการประชุมระดมความคิด ระดมประสบการณ์ที่ผสานระหว่างแนวคิดใหม่ของการให้ความสคัญของ NOS และสร้างกิจกกรรมการเรียนรู้ที่สะท้อนและบ่งชี้ได้ว่าเป็นกิจกรรมวิทยาศาสตร์อย่างแท้จริง
    เนื่องด้วยความเป็นจริงของวิทยาศาสตร์ก็คือความเป็นธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ หากมีปัจจัยทางสังคมเนื่องจากแนวคิด ความเชื่อ ประเพณี วัฒนธรรมในท้องถิ่นใด มามีอิทธิพลหรือคลอบงำวิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์ก็ยังคงเอกลักษณ์ไว้ได้เช่นคำว่า ทองคำ แม้นตกไปเปรอะเลอะโคลน ความเป็นทองก็ยังสะท้อนให้เห็นว่าเป็นทอง หากแม้นทองคำถูกความร้อนสูงมากระทำ ทองก็ยังคงสมบัติความเป็นทอง  ดังนั้นความเป็นธรรมชาติวิทยาศาสตร์หากถูกแต่งเติมไป  ความเป็นสมบัติที่เรียกว่าเอกลัษณ์หรือลักษณะ คงยังสะท้อนให้ชี้ชัดได้ว่าเป็นวิทยาศาสตร์นั้นเอง
   จากบทความในเอกสารประกอบการปชุมดังกล่าวซึ่ง ดร.สุทธิดา  จำรัส( ๒๕๕๕ : ๕) ที่อ้างถึง McComas 1998a ที่ว่านักวิทยาศาสตร์ นักวิทยาศาสตร์ศึกษา นักปรัชญาวิทยาศาสตร์ เห็นพ้องต้องกัน ว่าการเรียนวิทยาศาสตร์เน้นส่วนเฉพาะองค์ความรู้และทักษะการปฏิบัติการนั้น  ยังไม่เพียงพอ นักเรียนยังต้องเข้าใจความรู้เกี่ยวกับธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ ที่จะทำให้ผู้เรียนนั้นปรับตัวอยู่ในสังคมและธรรมชาติได้อย่างปกติสุข  นอกจากนี้แล้วนักการศึกษาวิทยาศาสตร์บางท่านยังเปรียบเปรย Nature of Science ว่าเป็นเสมือน DNA ของวิทยาศาสตร์ (Perkins-Gough,2006) แม้นตกทอดมาหลากหลายรุ่นแล้วก็ยังสามารถสืบถึงต้นตอความเป็นวิทยาศาสตร์ได้
     นอกจากนี้แล้วบทความดังกล่าวได้จำแนกกรอบลักษณะของธรรมชาติวิทยาศาสตร์ในแง่ ๑.องค์ความรู้( Body of knowledge) ๒.กระบวนการ( Pocess)๓.กิจการทางวิทยาศาสตร์  (Scientific Activities)
 ในทางกิจการและกิจกรรมต่าง ๆ ของธรรมชาติวิทยาศาสตร์ล้วนเกิดจากมนุษย์ ที่มีผลจากประสบการณ์ การฝึกฝน รสนิยม ค่านิยม ตลอดความเชื่อที่เป็นผลมาจากกิจกรรมทางสัีงคม เช่น การให้ความยอมรับนับถือนักวิทยาศาสตร์ ในสมัยก่อน เป็นการสื่อให้เห็นภาพที่คนหลายคนต่างก็ใฝ่ฝันและใฝ่หาที่จะเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงและเกียรติยศปรากฏ แต่ปัจจุบันสังคมสื่อสารเน้นเป้าหมายชื่อเสียงในเชิงธุรกิจมากกว่า กลับกลายเป็นว่านักวิทยาศาสตร์มักจะเป็นเงาของความมีชื่อเสียงนั้น ๆ มากกว่าที่จะเป็นฐาน DNA ของธรรมชาติวิทยาศาสตร์
    ดังนั้นการจะสร้างผู้เรียนให้เป็นผู้ที่มีลักษณะที่สอดคล้องกับธรรมชาติวิทยาศาสตร์และมีลักษณะความเข้าใจพื้นฐานของธรรมชาติวิทยาศาสตร์ ๘ หลักการ ของ Lederman et al., McComas,2005 สรุปพอสังเขปดังนี้

      ๑.ความรู้วิทยาศาสตร์ได้มาจากการศึกษาปรากฏการณ์ธรรมชาติ  ซึ่งต้องอาศัยหลักฐาน  ข้อมูล  ผ่านการคิดวิเคราะห์อย่างเป็นเหตุเป็นผล
      ๒. ความรู้วิทยาศาสตร์สามารถเปลี่ยนแปลงได้  หากมีหลักฐานของข้อมูลใหม่มาสนับสนุน
      ๓.กฎและทฤษฎีเป็นความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่แตกต่างกัน  กฏจะบอกถึงปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างมีแบบแผนที่แน่นนอน  ณ  สภาวะใด ๆ แต่ทฟษฎีจะอธิบายที่มาหรือเหตุผลของการเกิดปรากฏการณ์ธรรมชาตินั้น ๆ ทั้งกฏและทฤษฎีมีความสำคัญในการศึกษาหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์
      ๔.การศึกษาหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์มีหลากหลายวิธี  เช่น  วิธีทางวิทยาศาสตร์  การต่อยอดความรู้  ความบังเอิญ  การทดลองโดยวิธีคิด (Thought experimental) เป็นต้น
      ๕. การหาความรู้โดยการสังเกตและลงข้อสรุปจะแตกต่างกัน  โดยการสังเกตจะให้ข้อมูลที่เป็นหลักฐานในการลงข้อสรุปจากหลักฐานที่ได้โดยการสังเกต  เช่นการศึกษาเกี่ยวกับอะตอม เป็นต้น
      ๖.การทำงานทางวิทยาศาสตร์ต้องอาศัยความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการควบคู่กันไปกับการวิเคราะห์
      ๗.วิทยาศาสตร์คือกิจกรรมอย่างหนึ่งของมนุษย์  ซึ่งได้ผลกระทบจากประสบการณ์  การฝึกฝน  ความเชื่อ  และความรู้สึกนึกคิดของคน  เช่น ศีลธรรม  ความคิดสร้างสรรค์  จินตนาการ  การตีความและมุมมองหรือแนวคิดที่หลากหลาย  อคติและความลำเอียง  การปิดบังหรือการไม่ยอมรับข้อมูลหรือผลการทดลอง  ดังนั้นในการทำงานวิทยาศาสตร์จึงต้องมีกระบวนการตรวจสอบจากผู้ทรงคุณวุฒิหรือเพื่อร่วมงาน  การนำเสนอผลงาน  การประชุม หรือการตีพิมพ์ในวารสาร
     ๘.วิทยาศาสตร์คือกิจกรรมการทำงานของมนุษย์ซึ่งภายใต้สภาพแวดล้อมทางสังคมและวัฒนธรรม  ซึ่งจะส่งผลกระทบซึ่งกันและกัน

       ธรรมชาติวิทยาศาสตร์ล้วนแต่เป็นการสนองต่อความอยากรู้ (Curiosity) ที่จะพยายามใช้ความรู้นั้น ๆ ปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมมากว่าการอยู่เหนือธรรมชาติสิ่งแวดล้อม
       การประยุกต์ใช้กับผู้เรียนจึงเป็นการที่ให้ผู้เรียนนั้นได้ใช้ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ในแง่ของจินตนาการหรือความคิดสร้างสรรค์ อันจะนำไปสู่กิจกรรมการเรียนรู้ที่ท้าทาย น่าสนใจ และประทับใจเหมือนเดิมของความเป็นธรรมชาติของการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

    ผู้เขียนขอบคุณคณะทำงาน  คณะวิทยากร และเพื่อน ๆ ที่เป็นสมาชิกการประชุมดังกล่าวเป็นอย่างสูง

ครูธรรมศักดิ์  ช่วยวัฒนะ
โรงเรียนอนุบาลรัตนบุรี
จังหวัดสุรินทร์




 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น