ปรากฎการณ์ทางธรรมชาติจะมีเหตุการณ์ย่อย (Event) ที่แฝงอยู่ และเรียงต่อกันอย่างมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน แต่ละ Fact ที่ประกอบเป็นลำดับเหตุการมีความเป็นจริงเสมอ...
เมื่อเราใช้ Fact ที่ไม่สนับสนุนเรา(Disagree Fact) ก็มักจะว่าเป็นข้อเท็จ ส่วน Fact ที่สนับสนุนเรา(Agree Fact) ก็จะเรียนว่าข้อจริงงั้นหรือ...
ตัวอย่างเหตุการณ์ทางธรรมชาติที่ปรากฏ ให้นักเรียนศึกษารอยที่ปรากฏบนพื้นแล้วให้นักเรียนจำแนกรอยดังกล่าว
ที่มาของภาพ http://ohiodnr.com/tabid/19449/default.aspx
เมื่อนักเรียนมีใบความรู้เรื่องรอยเท้าสัตว์ แน่นอนเลยที่เดียวที่นักเรียนจะพบร่องรอยบนพื้นดินก็ต้องสันนิษฐานในเบื้องต้นก่อนการลงข้อสรุปว่าเป็นร้อยเท้า.... แน่นอน
แต่ถ้านักเรียนได้พบสถานการณ์จริงคล้ายดังภาพกับข้อมูลที่นักเรียนมีอยู่ เขาจะสรุปร่องรอยดังกล่าวอย่างไร...
ตัวอย่างการบันทึกที่สะท้อน NOS เช่น ร่องรอยบนพื้นทราย แต่ละรอยจะเป็นร่องคู่ พบรอยหนักเบาไม่เท่ากัน มี track pattern เป็นช่วงคู่ เป็นต้น ส่วนการบันทึกข้อสังเกตที่ใส่ความคิดเห็น เช่น เป็นรอยเท้าสัตว์ เป็นรอยของเท้า มีร้อยเท้าของสัตว์สองชนิด เป็นต้น การบันทึกข้อสังเกตแบบหลังนี้ล้วนแต่โอกาสที่จะเกิดข้อเท็จ เนื่องจากประสบการณ์หรือข้อมูลที่มีอยู่จึงรีบแทรกข้อความเห็นปนข้อสังเกตอย่างชัดเช่น เมื่อสิ่งที่พบเป็น Fact แต่ขั้นตอนการบันทึกข้อมูลที่ได้จากการสังเกต เพื่อที่จะนำข้อมูลดังกล่าวนั้นไปใช้ประโยชน์ในด้านอื่น ๆ นั้น จำเป็นต้องเป็น Fact คือ ข้อจริงเสมอ ดังนั้นการเลือกใช้ Fact ในทางวิทยาศาสตร์จึงต้องได้ Fact ตามระเบียบแบบแผนของการสังเกตซึ่งอยู่บนลักษณะของธรรมชาติวิทยาศาสตร์ (Nature of Science : NOS)
Fact or Fake ; Only in science for all is fact.
ตอบลบ