มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด
ว 2.1 ป.6/1 สำรวจและอภิปรายความสัมพันธ์ของกลุ่มสิ่งมีชีวิตในแหล่งที่อยู่ต่างๆ
ว 8.1 ป.6/2 วางแผนการสังเกต
เสนอการสำรวจ ตรวจสอบ หรือศึกษาค้นคว้า และคาดการณ์สิ่งที่จะพบจากการสำรวจตรวจสอบ
ป.6/3 เลือกอุปกรณ์
และวิธีการสำรวจตรวจสอบที่ถูกต้องเหมาะสมให้ได้ผลที่ครอบคลุมและเชื่อถือได้
ป.6/6 แสดงความคิดเห็นอย่างอิสระ อธิบาย
ลงความเห็นและสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้
ป.6/7 บันทึกและอธิบายผลการสำรวจตรวจสอบตามความเป็นจริง
มีเหตุผลและมีประจักษ์พยานอ้างอิง
ป.6/8 นำเสนอ จัดแสดงผลงานโดยอธิบายด้วยวาจา
และเขียนรายงานแสดงกระบวนการและผลของงานให้ผู้อื่นเข้าใจ
สาระสำคัญ/ความคิดรวบยอด
ความสัมพันธ์ของกลุ่มสิ่งมีชีวิตจะมีความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตกับสิ่งมีชีวิต และสิ่งไม่มีชีวิต ตามสภาพแวดล้อมของแหล่งที่อยู่อาศัยนั้น ๆ ในท้องถิ่น
คำยากท้าทายให้ตอบ
สิ่งมีชีวิต หมายถึง........................................................(สิ่งที่สามารถดำเนินการใช้สสารและพลังงานได้)
สิ่งไม่มีชีวิต หมายถึง ...................................................(สิ่งที่เป็นสสาร หรือ พลังงาน)
แหล่งที่อยู่ หมายถึง ....................................................(สถานที่ที่มีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ตามธรรมชาติ เช่น ใต้ขอนไม้ เป็นแหล่งที่อยู่ของมด กิ้งกือ เห็ด ฯลฯ)
กลุ่มสิ่งมีชีวิต หมายถึง ..................................................(สิ่งมีชีวิตมากกว่าหนึ่งชนิดอาศัยอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มในแหล่งที่อยู่อาศัยเดียวกัน)
ความสัมพันธ์ หมายถึง ..................................................(ความเกี่ยวข้องกันในลักษณะต่าง ๆ)
ระบบนิเวศ หมายถึง ..................................................(ระบบที่กลุ่มสิ่งมีชีวิตอาศัยในแหล่งที่อยู่เดียวกัน มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน และมีความสัมพันธ์กับแหล่งที่อยู่นั้นด้วย)
คำว่า "ตามสภาพแวดล้อม " มีความหมายอย่างไร....... กล่าวถึง ความสัมพันธ์ หรือ กลุ่มสิ่งมีชีวิต (ประโยคภาษาต่างประเทศ ทำให้ นักเรียน งง ว่าประธานของประโยค คือ ความสัมพันธ์ หรือว่า กลุ่มสิ่งมีชีวิต ...)
แปลมา จึง พบว่า กลุ่มสิ่งมีชีวิต เป็น ประธาน
สภาพของสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ก็มีความแตกต่างกันเป็นเอกลักษณ์ ไม่อาจกล่าวได้โดยนัยใดนัยหนึ่ง ดังนั้น สภาพแวดล้อมที่ต่างกันก็น่าจะมีความสัมพันธืที่แตกต่างกัน จริงหรือไม่.....
ปัญหาข้างตนจึงเป็นที่มาของการสำรวจเพื่อตรวจสอบความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตกับแหล่งที่อยู่(ไม่มีชีวิต) ในแต่ละแหล่งแตกต่างกันจริงหรือไม่...อะไรแตกต่างกัน(ชนิดสิ่งมีชีวิต) จริงไหม...
ปัญหา
แหล่งที่อยู่ต่างกันพบสิ่งมีชีวิตชนิดต่างกัน หรือไม่
ตรวจสอบอย่างไร
ตั้งสมมุติฐานการสำรวจก่อน แต่ละแห่งน่าจะพบสิ่งมีชีวิตที่แตกต่างกัน จะเขียนสมมุติฐานอย่างไร
สมมุติฐาน : แหล่งที่อยู่ต่างกันพบสิ่งมีชีวิตชนิดต่างกัน
วิเคราะห์สมมุติฐาน
แหล่งที่อยู่ คือ ต้นเหตุ กลายเป็น ตัวแปรต้น หรือ ตัวแปรอิสระ
ชนิดของสิ่งมีชีวิต คือ ผล กลายเป็นตัวแปรตาม
ตัวแประควบคุม มีหรือไม่...... ควบคุมยาก แต่กำหนดกรอบการสำรวจได้ ด้วยการกำหนด อาณาเขต คือ เฉพาะบริเวณโรงเรียนเท่านั้น
วิธีการสำรวจ เพื่อการตรวจสอบสมมุติฐาน
๑.นักเรียนแบ่งกล่มกลุ่มละ ๔ - ๕ คน มีอุปกรณ์ที่สำคัญ คือ แว่นขยาย ไม่บรรทัด กล่องพลาสติก คีบหนีบ ตะแกรงร่อน เป็นต้น
๒.กำหนดแหล่งสำรวจอย่างน้อย ๒ แหล่ง เช่น แหล่งบนบก น้ำ ใต้ก้อนหิน ขอนไม้ผุ เป็นต้น เพื่อลดอันตรายและความเสียงของสัตว์มีพิษต่าง ๆ
๓.เก็บสิ่งมีชีวิตที่พบลงกล่องเพื่อจำแนกชนิดและนับจำนวนที่พบ บันทึกผลลงตาราง
ตัวอย่างตารางบันทึกผล
แหล่งสำรวจ ชนิดของสิ่งมีชีวิต จำนวน ตำแหน่งที่พบ : ชนิดของสิ่งไม่มีชีวิต จำนวน ตำแหน่งที่พบ
ขอนไม้ผุ มด 6 บน ไม้แห้ง 1 บน
ปลวก 8 ใน ดิน มาก ใต้
กิ้งเกือ 1 ล่าง
กระถางบัว บัว 4 บน น้ำ มาก
แหน 30 บน โคลน มาก
หอย 2 ใน
ปลาหางนกยูง 12 ใน
จากตาราง พบตัวตัวแปรต้น คือ ขอนไม่ผุ และ กระถางบัว
ตัวแปรตาม คือ ชนิด สิ่งมีชีวิต เช่น มด กิ้งเกือ ปลวก ปลา หอย บัว เป็นต้น
จะสรุปผลอย่างไร
เมื่อเราตั้งสมมุติฐานว่า แหล่งที่อยู่ต่างกันพบสิ่งมีชีวิตชนิดต่างกัน เราใช้แหล่งที่อยู่ต่างกันหรือยัง ตอบ ต่างกันแล้ว คือ ขอนไม้ผุ และ กระถางบัว เราพบสิ่งมีชีวิตเหมือนกนหรือไม่ ตอบ ไม่ พบปลาในน้ำเท่านั้น ขอนไม้ไม่มีน้ำมากพอที่จะเป็นที่อยู่เลี้ยงพา ฉะนั้นจึงสามารถเขียนข้อสรุปผลการทดลองได้ว่า
สรุปผลการทดลอง
แหล่งที่อยู่ต่างกันพบสิ่งมีชีวิตชนิดต่างกัน
๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น