วันเสาร์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ธรรมชาติวิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนประถมศึกษา

เมื่อวิทยาศาสตร์ ถูกกำหนดว่าเป็น องค์ความรู้ และกระบวนการได้มาซึ่งความรู้ ประเด็นการกำหนด                  กิจกรรมการเรียนรู้ เน้น องค์ความรู้ ก็จะเป็นการเรียนรู้อดีต
         ถ้าหากจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เผชิญสถานะการ ตามธรรมชาติวิทยาศาสตร์ ก็จะเกิดกระบวนการที่สมองจะจัดระเบียบเพื่อการเรียนรู้ พร้อม ๆ กับสะสมทักษะ ความชำนาญในการจัดการสถานะการดัง
กล่าว
        ผมตกใจเหตุการณ์ที่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ (อายุประมาณ ๑๐ ปี) คาดเดาทิศทางการไหลของของเหลวจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ (การไหลของน้ำ) ไม่ถูก
        สิ่งนี้จะง่ายกับประสบการณ์ผม แต่จะยากสำหรับนักเรียนชั้นดังกล่าวที่เคยเห็นแต่ไม่เคยเข้าใจเลยว่าของเหลว(น้ำ) ไหลลงสู่ที่ต่ำเนื่องจากอะไร ทำไมจึงไหลได้ ....


น้ำมักจะไหลจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ เด็ก ๆ เห็นแต่สงสัย น้ำไหลขึ้นก่อนตกได้อย่างไร....งง

น้ำไปที่สูงกว่าได้อย่างไร...
             ๑.เกิดจากธรรมชาติ


๒.เกิดจากมนุษย์เป็นผู้กระทำ ปั้มน้ำที่เป็นเครื่องมืือส่งน้ำจากที่ต่ำกว่าไปยังจุดที่สูงกว่าได้

เหตุการณ์ที่มักจะเกินการคาดคิดจริงหรือ...




เหตุณ์การเกิดซ้ำได้ ก็จะเป็นเหตุกาณ์ตามเงื่อนไขวิทยาศาสตร์ แก้ปัญหาด้วยวิทยาศาสตร์ได้


อีกตัวอย่างที่นักเรียนสงสัยน้ำเอาชนะแรงดึงจากแรงโน้มถ่วงของโลกหรือว่าอยู่ภายใต้แรงโน้มถ่วงของโลก ทั้ง ๆ น้ำยกตัวสูงขึ้นซึ่งปราศจากเครื่องปั้ม.....

ตอบ....... ยังอยู่ภายใต้แรงโน้มถ่วงของโลก  ไม่ใช่ชนะแรงโน้มถ่วงของโลก  เนื่องจากแรงดันอากาศที่ตำ่ภายในหลอดลดต่ำลงเรื่อย ๆ เนื่องจากมวลน้ำส่วนปลายด้านออกไหลแรงดันอากาศส่วนนอกที่มากจึงดันมวลน้ำในแก้วส่งต่อเข้าไปในหลอดได้อีกครั้ง(กาลักน้ำ)


ไอน้ำมีพลังงานมากพอที่จะชนะแรงโน้มถ่วงของโลกได้/ ปั้มน้ำได้แรงต้นกำลังจากมนุษย์






หากเราไม่สอนการเผชิญ ปล่อยให้เขาไปเผชิญในสถานการณ์จริง อาจจะไม่โชคดี ไม่ได้กลับการใช้ประสบการณ์  ครูควรสร้างสถานการณ์จำลอง อย่าง ๆ น้อย ก็จะพบเหตุการณ์ที่ไม่มีเวลาคิด หรือนาทีชีวิต เขาจะเอาตัวรอดได้
     ถ้ามัวแต่เน้นองค์ความรู้เราจะเสียเขาไป... ธรรมชาติวิทยาศาสตร์ คือ การเผชิญสถานการณ์ วิชาวิทยาศาสตร์เป็นวิชาลักษณะเดียวกันกับพลศึกษา... แล้วท่านคิดว่าถึงเวลาเปลี่ยนแนวคิดหรือยัง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น