เมื่อนักเรียนได้รับมอบหมายจากครูให้ร่วมกันจัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์ สิ่งที่นักเรียนสงสัยประการแรกคือ
โครงานวิทยาศาสตร์ คืออะไร
" โครงานวิทยาศาสตร์ หมายถึง การศึกษาเพื่อพบข้อความรู้ใหม่ สิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ
ทางวิทยาศาสตร์ด้วยตัวของผู้เรียนเอง โดยใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ในการแก้ปัญหาโดยมี
ครูอาจารย์และผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้ให้คำปรึกษา"
จากข้อความข้างต้น นักเรียนสงสัยคำที่ขีดเส้นใต้ที่ว่า
- การศึกษา หมายถึง อะไร ตอบ เป็นการดำเนินการด้วยวิธีต่าง ๆ ให้ได้มาซึ่งความรู้ ความเข้าใจ ได้สิ่งที่เป็นประโยชน์ แก่ตนเองและผู้อื่น
วิธีต่าง ๆ คือ วิธีอะไร ตอบ วิธีการทางวิทยาศาสตร์
วิธีการทางวิทยาศาสตร์ คือ อะไร ตอบ ......
วิธีการทางวิทยาศาสตร์ คือ การแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์อย่างมีกระบวนการที่เป็นแบบแผนมีขั้นตอนที่สามารถปฏิบัติตามได้ โดยขั้นตอนวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ที่เป็นเครื่องมือสำคัญของนักวิทยาศาสตร์
แบบแผน เป็น แผนแบบใด แผนที่มีการดำเนินการต่อไปนี้ คือ มีการสังเกต การตั้งปัญหา การตั้งสมมติฐาน ออกแบบการทดลองการดำเนินการทดลอง และสรุปผลการทดลอง ซึ่งก็หมายถึงระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Method) มีดังนี้
วิธีการทางวิทยาศาสตร์ เป็นขั้นตอนการทำงานอย่างเป็นระบบที่นักวิทยาศาสตร์ใช้ในการแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ประกอบด้วยขั้นตอนต่าง ๆ ดังนี้
1. ขั้นสังเกตเพื่อระบุปัญหา คือการระบุปัญหา หรือสิ่งที่ต้องการศึกษา และกำหนด ขอบเขตของปัญหา
2. ขั้นตั้งสมมติฐาน คือการคิดคำตอบที่คาดหวังว่าควรจะเป็น หรือการคาดเดาคำตอบ ที่จะได้รับ
3. ขั้นการรวบรวมข้อมูล คือการรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อตรวจสอบ สมมติฐานที่ตั้งไว้ว่าถูกหรือผิด โดยมีหลักฐานยืนยัน อาจทำได้โดยการสังเกต หรือการทดลอง
4. ขั้นสรุปผล คือการสรุปว่าจะปฏิเสธ หรือยอมรับสมมติฐาน ตามหลักเหตุและผล เพื่อให้ได้คำตอบของปัญหา
ปัญหา คืออะไร
ในชีวิตประจำวันนักเรียนจะพบอุปสรรคต่าง ๆ มามาย อุปสรรค คือ สิ่งที่ขัดขวาง ปิดกัน กัน ไม่ให้เราดำเนินการไปสู่เป้ามายที่กำหนด แล้วปัญหาที่ในทางวิทยาศาสตร์มีความเหมือนหรือแตกต่างจากปัญหาอื่นทั่วไปอย่างไร....
ข้อสังเกตุ สิ่งใดที่เป็นเหตุการณ์ ที่สามารถเกิดขึ้นได้ซ้ำ ๆ เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดในกรอบของความเป็นวิทยาศาสตร์ ก็ย่อมแก้ด้วยกระบวนการวิทยาศาสตร์ได้ เช่น แม่น้ำสสายนี้มีปลาตายจำนวนมาก ถึงแม้นว่าตอนนี้มีปลาอยู่จำนวนมาก อนาคตมีความเป็นไปได้ว่าโอกาสที่ปลายจะตายในบ่อน้ำอี ก็เป็นไปได้.... แล้วปัญหาของเหตุการณ์นี้ คือ ปลาตาย
จากที่กล่าวมาข้างตนนักเรียนพอจะเริ่มรู้ว่าโครงงานนั้นหมายถึง กระบวนการที่นักเรียนจำเป็นต้องร่วมกันดำเนินการแก้ปัญหาด้วยระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์ โดยมีครูหรือผู้เชี่ยวชาญคอยให้คำแนะนำ ปรึกษา แล้วนำเสนอผลงานงานต่อบุคคลที่สนใจต่อไป
ความรู้ใหม่ ๆ เป็นแบบไหน ซึ่งมีคนมากกมายทั่วโลก ต่างก็ศึกษา แล้วความรู้ใหม่ ๆ จะเกิดได้อย่างไร..........
การทำโครงงานวิทยาศาสตร์ จะมีการกำหนดกรอบการศึกษา ซึ่งกรอบการศึกษาดังกล่าว จะใช้ได้ในการศึกษาครั้งนั้น ๆ หากใครทำโครงงานก่อนเรา เช่น ตัวอย่างโครงงงานที่ห้องสมุด สสวท.บันทึกไว้
*********************************************************************************************************************
โรงเรียนท้ายเหมืองวิทยา อำเภอท้ายเหมือง พังงา 2540 ม.ต้น ชนะการประกวดรางวัลที่ 2 ทั่วไป ภาคใต้
เรื่อง การศึกษาพฤติกรรมระหว่างมดกับหนอนชอนเปลือกต้นลองกองในที่ร่มและกลางแจ้ง
จากชื่อเรื่อง ประกอบไปด้วย ตัวแปรต้น คือ ในร่ม และกลางแจ้ง,
มด และ หนอน
ตัวแปรตาม คือ พฤติกรรมมดและหนอนซอนเปลือกต้นลองกอง
ตัวแปรควบคุม คือ .......................
ตอบ สวนลองกองราษฎร์สภา จ.พังงา ปี 2540
ปัญหาของเรื่องคืออะไร .... จาการสังเกตปริมาณหนอนซอนเปลือกต้นลองกองมีจำนวนแที่แตกต่างกัน จากข้อจริง(Fact) ในเบื้องตนของการสังเกตุพบว่า สวนลองกลองกลางแจ้งพบหนอนซอนเปลือกต้นลองกองน้อยกว่า
ข้อแตกต่างของสองสวนนี้คือ แสงแดด นั้นสมมุติฐานที่ทำให้หนอนซอนเปลือกต้นลองกองต่างกัน คือ แสงแดด
กระบวนการพิสูจน์สมมุติฐานด้วยการสำรวจต้นลองกองในสวนก็พบว่า สวนที่มีแสงแดดจัดก็ยังมีหนอนซอนเปลือกต้นลองกอง...
สรุปในเบื้องตน แสงแดดคงไม่ใช่ตนเหตุแห่งความแตกต่างของหนอนซอนเปลือกต้นลองกอง
อะไรน่าจะเป็นสาเหตุ....
นักเรียนเข้าปรึกษาครู ถึง วิถีชีวิต หรือ วงจรชีวิตหนอนดังกล่าว เป็นอย่างไร หนอนนี้ยังมีความเกี่ยวข้องกับสิ่งมีชีวิตอื่นหรือไม่....
นักเรียนศึกษาเพิ่มเติมอีก.... และพบว่า มีนก มีกิ้งกว่า จิ้งจก งู มด สัตว์ใดน่าจะมีความสัมพันธ์กับปริมาณของหนอนที่พบมากกว่า....
นักเรียนก็ต้องออกไปสังเกตเพิ่มเติมถึงพฤติกรรมหนอนซอนเปลือกต้นลองกอง จึงได้พบว่า ที่เฝ้า ๆ อยู่ ก็เห็นมดมันกัดกินหนอนตัวใหญ่กว่ามดนั้นเอง ส่วนสัตว์อื่น ๆ สังเกตไม่ทัน
จากการเฝ้าสังเกตุซ้ำ ๆ จึงเกิด ความรู้ใหม่ที่ว่า มดหลาหลายชนิดมีผลต่อหนอนซอนเปลือกต้นลองกอง
จึงได้ข้อสรุปที่ว่า
ปรากฏว่ามดที่พบได้แก่ มดเหม็น มดดำ มดง่าม มดขายาวและมดแดง หนอนชอนเปลือกที่พบมี 2 ชนิดคือ หนอนชนิดตัวใหญ่ (Cossus chloratas) และหนอนชนิดตัวเล็ก (Prasinoxena metaleuca) ผลการสำรวจปริมาณหนอนชอนเปลือกซึ่งทำให้ตาดอกไม่พัฒนามีความสัมพันธ์กับปริมาณมดง่าม บริเวณที่ร่มจะมีปริมาณมดง่ามมากปริมาณหนอนชอนเปลือกน้อย เป็นไปได้ว่ามดง่ามเป็นผู้ล่าหนอนชนิดนี้
**********************************************************
ถ้าเราจะทำโครงงานแบบดังกล่าว และไม่ซ้ำ คือ ใช้กลุ่มตัวอย่างจังหวัดอื่น เช่น จังหวัดพัทลุง หรือจังหวัดภาคใต้ที่ปลูกต้นลองกอง ก็ถือว่าไม่ซ้ำ ก็จะเป็นความรู้ใหม่ที่ว่านอกเหนือจากจังหวัดพังงาแล้ว จังหวัดอื่น ๆ มีปัญหาเช่นเดียวหันหรือไม่ ตอบ..... ไม่แน่ใจ ต้องพิสูจน์ดู...
นี่ก็เป็นตัวอย่างหนึ่งของแนวคิดในการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ ซึ่ง สสวท.ก็ได้จัดทำทะเบียบโครงงานวิทยาศาสตร์ระดับนักเรียนไว้อย่างเป็นระบบ
คลิกที่นี่
ที่มา http://elib.ipst.ac.th/elib/cgi-bin/opacexe.exe?op=gsf&frm=simsch&db=scp&skin=u&lang=1
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น