การพยากรณ์อากาศในเขตร้อนอย่างประเทศไทย ซึ่งมีความผันผวนของอากาศมาก ความแม่นยำของการพยากรณ์จึงมีความคลาดเคลื่นตามลำดับดังนี้
การพยากรณ์อากาศ ช่วงระยะเวลา ๑๒ - ๒๔ ชั่วโมง มีความถูกต้อง ดี
การพยากรณ์อากาศ ช่วงระยะเวลา ๑ - ๓ วัน มีความถูกต้อง พอใช้
การพยากรณ์อากาศในช่วงระยะเวลามากกว่า ๓ วัน คลาดเคลื่อนมาก
ที่มา: สารานุกรมสำหรับเด็กและเยาวชน,สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ / เล่มที่ ๓๕ / เรื่องที่ ๖ การพยากรณ์อากาศ / วิธีการพยากรณ์อากาศ
ในปัจจุบันใช้การพยากรณ์อากาศเชิงตัวเลข โดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการพยากรณ์ ทำให้การพยากรณ์ในช่วงระยะเวลามากกว่า ๓ วัน มีความถูกต้องมากขึ้น
การพยากรณ์อากาศแบ่งตามช่วงเวลา มี ๓ ชนิด ดังนี้
๑. การพยากรณ์อากาศระยะสั้น
การพยากรณ์อากาศปัจจุบัน ช่วงเวลาพยากรณ์ไม่เกิน ๓ ชั่วโมง
การพยากรณ์อากาศระยะสั้นมาก ช่วงเวลาพยากรณ์ไม่เกิน ๑๒ ชั่วโมง
การพยากรณ์อากาศระยะสั้น ช่วงเวลาพยากรณ์ไม่เกิน ๗๒ ชั่วโมง
๒. การพยากรณ์อากาศระยะปานกลาง
ช่วงเวลามากกว่า ๗๒ ชั่วโมง ถึง ๑๐ วัน
๓. การพยากรณ์อากาศระยะนาน
ช่วงเวลามากกว่า ๑๐ วัน
คำถาม
๑.ความผันผวนของอากาศ หมายถึงอะไร ตอบ ความผันผวนของสภาพภูมิอากาศ (Climate variability ) คือ การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศจากเดิมที่เคยเป็นหรือจากสถิติที่เคยบันทึกไว้
๒.ความแม่นยำของการพยากรณ์เกี่ยวข้องกับช่วงเวลาอย่างไร ตอบ การพยากรณ์จำเป็นต้องอาศัยข้อมูล หรือสถิติที่เคยบันทึกไว้ ณ สถานที่นั้น ๆ จะมีความแ่มนยำของการพยากรณ์มากขึ้นเมื่อสภาพแวดล้อมขณะนั้นอยู่ในช่วงเวลาสั้น ๆ นั่นเอง
๓.ทำไมเราไม่ทำนายไว้เป็นปี ๆ อย่างนักทำนายที่ชื่อว่า นอสตรา ดา มุส ล่ะคับ ตอบ เพราะคำว่าผันผวนของอากาศนั่นเองที่ลดความแม่นยำของการพยากรณ์
คำถามอื่น ๆ เขียนมาได้เลย ครูธรรมศักดิ์ จะช่วยตอบข้อสงสัย
ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ http://www.c2es.org/
หรือ https://weather.com/th-TH/weather/today/l/THXX0527:1:TH
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น